วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบปฏิบัติการMac OS (แมค โอเอส)



Mac OS (แมค โอเอส)


           เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เฉพาะกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ที่ผลิตโดยบริษัทแอปเปิลแมคอินทอชโอเอสถูกเปิดตัวออกมาครั้งแรกในปี 1984 ลักษณะที่เด่นของระบบปฏิบัติการประเภทนี้คือ มีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าระบบปฏิบัติการดอส เนื่องจากคำสั่งต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบของเมนู และมีรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน ที่ใช้แทนโปรแกรมหรืองานผู้ใช้สามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเมนู หรือไอคอนเพื่อเรียกคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาทำงานได้ แทนการป้อนคำสั่งจากแป้นพิมพ์เหมือนดอส
เนื่องจากเครื่องแมคอินทอชและไอบีเอ็ม จะมีการออกแบบซีพียูที่แตกต่างกัน กล่าวคือเครื่องไอบีเอ็มและไอบีเอ็มคอมแพททิเบิลจะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์หรือ ซีพียูที่สร้างโดยบริษัท Intel ได้แก่ ซีพียูเบอร์ 80286, 80386, 80486 และในปัจจุบันคือเพนเที่ยม (Pentium) ซึ่งแทนซีพียูเบอร์ 80586 นั่นเอง ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชจะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ที่สร้างโดยบริษัท Motorola ได้แก่ ซีพียูเบอร์ 68000, 68020, 68030 และ 68040 ดังนั้นจึง ไม่สามารถใช้แมคอินทอชกับเครื่องไอบีเอ็มทั่วไปได้ หรือแม้แต่นำโปรแกรมที่พัฒนาภายใต้ดอสไปเรียกใช้งานหรือรัน (run) บนเครื่องแมคอินทอช หรือในทางกลับกันได้ แต่ในเวอร์ชั่นใหม่ของแมคอินทอชคือ ตั้งแต่ Macintosh II เป็นต้นไป มีการเพิ่มแผงวงจรพิเศษให้สามารถนำซอฟต์แวร์บนดอสมารันอยู่บนเครื่องแมคได้ และในเวอร์ชัน 7 (System 7) ได้ถูกออกแบบให้เป็นโอเอสที่มีความสามารถทำงานในลักษณะของมัลติทาสกิ้งได้ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเครื่องแมคอินทอชยังคงเป็นเครื่องที่มีราคาค่อนข้างแพงมาก เมื่อเทียบกับเครื่องไอบีเอ็มคอมแพททิเบิลทั่วไปที่ใช้ระบบปฏิบัติการดอส หรือวินโดวส์ ดังนั้นจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่ากับเครื่องตระกูลไอบีเอ็ม
       
           
           ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

           


          แมคโอเอสรุ่นต่างๆ
       แรกสุดนั้นแมคโอเอสถูกเรียกว่า ซิสเต็ม (System) และเปลี่ยนมาใช้คำว่า แมคโอเอส ครั้งแรกใน แมคโอเอส 7.5 (ค.ศ. 1996) เนื่องจากเครื่องแมคเลียนแบบที่แพร่หลายในยุคนั้น ทำให้แอปเปิลต้องการแสดงว่าแมคยังเป็นลิขสิทธิ์ของตนอยู่
แมคโอเอสสามารถแบ่งได้เป็นสองยุค คือ

  • Classic นับตั้งแต่แมคโอเอสตัวแรกสุด จนถึงแมคโอเอส 9
  • แมคโอเอสเท็น (Mac OS X) ใช้แกนกลางที่พัฒนามาจากยูนิกซ์ ตระกูลบีเอสดี โดยปัจจุบันนั้นแมคโอเอสเท็นได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้งานได้บน คอมพิวเตอร์แมคอินทอชรุ่นใหม่ ที่ได้ใช้หน่วยประมวลระบบสถาปัตยกรรม x86 Intel แล้ว แต่ยังสามารถที่จะใช้งานได้เฉพาะคอมพิวเตอร์จากแมคอินทอชเท่านั้น









 ที่มา
www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/.../macos.htm











ระบบปฎิบัติการวินโดวส์ (Windows)




 ระบบปฎิบัติการวินโดวส์ (Windows) 



             ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครซอฟต์วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจและวงการอื่น ๆทั่วโลก บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนาวินโดวส์ออกมาหลายรุ่น ได้แก่ วินโดวส์ 95 วินโดวส์ 98 วินโดวส์ 2000 วินโดวส์ Me วินโดวส์ XP และล่าสุดคือวินโดวส์ 2003 ทุก ๆรุ่นจะมีหน้าตาและการทำงานคล้าย ๆกัน ต่างกันเพียงความสามารถในการใช้งานที่สูงขึ้น
             

              การเข้าสู่ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
                       เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมวินโดวส์แล้ว เมื่อเปิดเครื่องแล้วคอยสักครู่จะเข้าสู่โปรแกรมของระบบในช่วงการเปิดเครื่องโปรแกรมจะตรวจสอบระบบของฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ


      1. เดสก์ทอป (Desktop) พื้นหลังของจอภาพในระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์ เรียกว่า เดสก์ทอป หมายถึง โต๊ะทำงานที่มีอุปกรณ์การทำงานอยู่ครบพร้อมทำงานได้ทันที
      2. แป้นลัด (Short cut) เป็นรูปเล็ก ๆ บนหน้าจอ สำหรับคลิกให้ทำงานหรือเปิดโปรแกรมได้โดยไม่ต้องเข้าไปเปิดโฟลเดอร์ในโปรแกรม ด้านบนขวาสุดเป็นแป้นลัดสำหรับ คลิกเข้าสู่โปรแกรมของไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ได้แก่ ไมโครซอฟต์เวิร์ด ไมโครซอฟต์เอกเซลไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ ฯลฯ เป็นต้น
      3. สัญรูป (Icon) เป็นรูปเล็ก ๆ บนจอภาพใช้แทนการทำงานหรือคำสั่งต่าง ๆ สำหรับคลิกเพื่อให้เกิดการทำงาน
      4. แถบงาน (Task bar) เป็นแถบสีเทาด้านล่างของเดสก์ทอป สำหรับแสดงงานที่เปิดใช้อยู่ และงานที่ปิดไว้ชั่วคราว แถบงานประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆดังนี้
     ปุ่ม Start อยู่ด้านซ้ายของแถบงาน สำหรับคลิกเพื่อเปิดกรอบเมนูของโปรแกรม
     เทมเพลท (Template) อยู่ด้านขวาของแถบงาน ประกอบด้วย นาฬิกา ตัวอักษร TH และ EN บอกโหมดการใช้ภาษาของแป้นพิมพ์เป็นไทยและอังกฤษ การสลับภาษาระหว่างไทยและอังกฤษ ทำได้ 2 วิธี คือ       
       1. ใช้เมาส์คลิกที่ตัวอักษร EN หรือ TH ในแถบงานจะมีกรอบแสดงภาษาให้เลือก ผู้ใช้คลิกเลือกภาษาที่ต้องการ 
        2. กดปุ่ม Assent ที่แป้นพิมพ์สลับไทยเป็นอ้งกฤษ และอังกฤษเป็นไทย

 5. ตัวชี้เมาส์ ปกติเป็นรูปลูกศรสีขาว มีหน้าที่คลิกเพื่อเปิดโปรแกรม ลักษณะของการใช้เมาส์มี 4 แบบ
      การลากและปล่อย (Drag and Drop) เป็นวิธีการคลิกปุ่มข้างซ้ายค้างไว้ที่สัญรูป แล้วลากไปปล่อยที่ตำแหน่งอื่น

      การคลิก (Click) หมายถึง ชี้เมาส์ที่สัญรูปที่ต้องการ และกดเมาส์ข้างซ้าย 1 ครั้ง

      การคลิกขวา (Right click) เป็นการกดปุ่มข้างขวา 1 ครั้ง

      การดับเบิ้ลคลิก (Double click) คือการคลิก 2 ครั้งติดต่อกันอย่างเร็ว

 6. สัญรูปหลักที่มีบนจอภาพ ได้แก่

      My Documents เป็นรูปแฟ้มสีเหลืองเรียกว่า โฟลเดอร์ (Folder) สำหรับเก็บข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่บันทึกจากโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ เป็นการแบ่งเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ออกเป็นห้องสำหรับเก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ปะปนกัน
ในโฟลเดอร์ My documents ของวินโดวส์ Me จะแบ่งย่อยเป็น - My Pictures สำหรับเก็บรูปภาพต่าง ๆ My Music เก็บแฟ้มเสียงที่เป็นเพลงต้วอย่างไว้เราสามารถนำแฟ้มเสียงและภาพมาใส่เพิ่มเติมได้


My Computer  แสดงอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมดที่ติดตั้งไว้ ได้แก่ 3.5 Floppy (A:) Local Disk C: และ Compact Disc (E:) 

Local Disk หมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ติดตั้งในไว้ในระบบ จะมีชื่อเรียกเป็น A: B: C: D: E: F: ปกตเราจะติดตั้งเพียง A: เป็นฟลอปปีดิสก์ C: เป็นฮาร์ดดิสก์ และ D: เป็นซีดีรอม ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์มีความจุมากขึ้น จึงต้องแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ถ้าแบ่ง 2 ส่วน จะได้ ฮาร์ดดิสก์ชื่อ C: และ D: ซีดีรอมจะเปลี่ยนชื่อเป็น E: อย่างอัตโนมัติ


Control Panel เป็นเครื่องมือจัดการระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์ ต่อพ่วงต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์


Recycle Bin เป็นที่เก็บข้อมูลที่ถูกลบจากฮาร์ดดิสก์ไว้ชั่วคราว และสามารถนำข้อมูลนั้นกลับมาใช้ได้อีก

Internet Explorer สำหรับคลิกเข้าสู่ระบบอินเตอร์เนต โดยต้อง ติดตั้งระบบอินเตอร์เนตก่อน

Windows Media Player มีไว้สำหรับดูหนัง และฟังเพลงจาก แผ่นซีดี และ MP 3 มีอยู่ในวินโดวส์ Me และรุ่นที่สูงกว่า

Microsoft Outlook สำหรับรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-mail ซึ่งต้องติดตั้งระบบอินเตอร์เนตไว้ด้วย

 
ที่มา

school.obec.go.th/winais/lesson-IV/os-win.htm