วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์





อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


1.อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device) 





       Input  หมายถึง  การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล  โดย  User  จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสาร   ซึ่งอุปกรณ์ในการนำเข้าข้อมูลมาตรฐาน ได้แก่   Mouse,  Keyboard   และ  Scanner


Keyboard 
      จะสร้างสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์และแปลงเป็นตัวอักษรคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด  ซึ่ง Keyboard  จัดเป็นส่วนหนึ่งเครื่อง   ในแต่ละอุตสาหกรรมอาจมี  Keboard   ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน
 ลักษณะการทำงานของ Keyboard 
        ใช้  Keyboard controller   เป็นตัวรับข้อมูลว่าปุ่มใด (Key)  ถูกกด  และจะทำการแปลงค่าสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังส่วนหนึ่งใน Keyboard  buffer  เพื่อบันทึกว่า Key ใดถูกกด  และ Keyboard controller  จะส่ง Interrupt  Request ไปยัง  System  Software ให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ Keyboard  ซึ่ง Keyboard ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้ง Keyboard  แบบปกติที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป  และ Keyboard              แบบพิเศษ ที่มีรูปทรงที่แปลกตา

          Ergonomic keyboard

                 ถูกออกแบบให้ลดการตึง   เกร็ง  การเคล็ดของข้อมือซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้หากคุณต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ  โดย Ergonomic keyboards   ถูกออกแบบให้มีตำแหน่งการวางข้อมือและแขนเป็นพิเศษ



Mouse    

      ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ (Pointer) บนหน้าจอ โดยการขยับ Mouse เลื่อนไปมาบนโต๊ะที่มีพื้นเรียบ    ซึ่งการขยับ Mouse แต่ละครั้งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของ Pointer บนหน้าจอ และรับคำสั่งเมื่อมีการกดปุ่มของ Mouse (click)  ซึ่งคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Mouse มี 4 คำด้วยกันคือ

           - Click
           - Double Click
           - Right Click
           - Drag and  Drop

ประเภทของ Mouse
        Mechanical  mouse: ใช้ลูกบอลเล็ก ๆ ในการกลิ้ง-หมุน ซึ่งลูกบอลจะอยู่ใต้ mouse
  Optical  mouse : ใช้ลำแสงควบคุมการเคลื่อนที่ของ  mouse
  Cordless  mouse : เม้าส์ไร้สาย  ใช้เคเบิลส่งคลื่นแสง  infrared หรือคลื่นวิทยุ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
 การทำงานของ Mouse 
มี 2 แกน วางอยู่เป็นมุมฉากข้างลูกบอล  ซึ่งแกนดังกล่าวจะเป็นแกนหมุนสัมผัสกับลูกบอลและจะหมุนเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่   ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าแกนหมุน  หมุนไปมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้คอมพิวเตอร์แปลงสัญญาณและเลื่อนตำแหน่งให้สอดคล้องกับ Mouse
 Mouse จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้  ซึ่งอุปกรณ์ประเภทตัวชี้นี้ ไม่ได้มีเฉพาะ Mouse เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอุปกรณ์ ตัวชี้ชนิดอื่นด้วย  ที่มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับ Mouse แต่รูปทรงและลักษณะนั้นแตกต่างออกไป  เช่น  อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม  อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop หรือ Notebook

Trackball 
       มีลักษณะคล้ายกับ mouse แต่ไม่มีแกนบังคับ   ใช้การหมุนลูกบอลในการทำงาน  ส่วนมากใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  Laptop   ทำงานโดยการหมุนลูกบอล  โดยตรง เพื่อให้ Cursor เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการ 
Joysti 
       มีด้ามสั้น ๆ ให้จับ   ควบคุมการเคลื่อนที่ของ pointer  โดยใช้การกลไกปืนเพื่อทำงาน

Touchpad
      มีรูปทรง เหลี่ยม ใช้การกดและรับความไวของการเคาะ    มีเสียงในการกดเคาะ ดังแปะ ๆ (เหมือนการ Click)  สามารถเลื่อน  pointer ได้โดยการลูบในพื้นที่ 4 เหลี่ยม    การเลื่อน Cursor จะอาศัยนิ้วมือกดและเลื่อน  เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับ Notebook
 Pointing stick 
       เป็นลูกทรงกลมเล็ก ๆ ไวต่อการกด  วางอยู่กึ่งกลาง keyboard  ใช้การหมุนเพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของ pointer 
 Graphics tablet
     ใช้ปากกาควบคุมการย้ายตำแหน่ง  วางอยู่บนกระดาน (Board)  ส่วนมากใช้สร้างแผนงานหรือวาดบทย่อ  หรือบทสรุปต่าง ๆ

Digitizer
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ ที่เราเรียกว่า “Digitizing tablet” ขนาดของตารางจะแตกต่างกัน   ตารางจะมีการเชื่อมต่อสายเคเบิลเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีการวาดภาพบนตาราง ตัวชี้บนตารางเราเรียกว่า Grid เพื่อกําหนดตําแหน่งในการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์

Touch  screen 
           จอสัมผัส  เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ Input และ Output  ใช้นิ้วมือสัมผัสบนหน้าจอ จากนั้นจอภาพจะพิจารณากลุ่มข้อมูลที่ Input  เข้าสู่ระบบ  ส่วนมากใช้ในสถานที่ใหญ่ ๆ ที่มีคนจำนวนมาก  เช่น  นำตู้ ATM แบบ  Touch  screen  ไปวางในห้างสรรพสินค้าการทำงานของ   Touch  screen  จะใช้  Membrane layer ทำหน้าที่ตรวจสอบการถูกกดบนตำแหน่งหน้าจอ  โดยแต่ละแผ่นจะแยกการตรวจสอบตามแกน x,y  โดยมีการใช้สายไฟ 4 เส้น  layer ละ เส้น เมื่อมีการกดหน้าจอทั้ง  2  layer จะทำการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ Controller            

Pen-based computing

         ใช้ปากกาแสง (Light Pen) ในการนำเข้าข้อมูล   พบในเครื่อง PDA  และ Pocket  PC การทำงาน  สามารถรับข้อมูลโดยการใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์เขียนลงบนหน้าจอของ  PDA หรือ Pocket  PC  ซึ่ง หน้าจอถูกออกแบบมาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์นี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหวโดยใช้ความไวแสงเพื่อกําหนดตําแหน่งที่ชี้บนจอภาพ    บอกได้ว่ากำลังเขียนตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ใด สามารถอ่านลายเซ็นได้ 

Scanner  

         ใช้ในการอ่านอักขณะพิเศษ   ตัวเลข   และสัญลัษณ์ต่าง ๆ

  Flatbed  scannerจะ scan  ครั้งละ 1 หน้า  สามารถ scan เอกสารขนาดใหญ่ได้ 

   Sheetfed  scanner : จะดึงกระดาษเขาไป scan   ต้องกลับด้านของกระดาษ  

 Laser scaner  

          ปัจจุบันมีหลากหลายชนิดให้เลือก รวมทั้งเครื่อง Scan  แบบสั่น  โดยส่วนมากแล้วหากใช้งาน ณ.จุดขายหน้าร้าน (POS: Point of Sale)  ก็จะต้องมีอุปกรณ์อื่นที่ต้องใช้ร่วมกัน  เช่น เครื่องออกใบเสร็จ (Receipt printer)  เครื่อง print bar code  (Bar code printer)     จอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมด้วยจะมีขนาดเล็ก (9” VGA MONO  หรือ 10” COLOR MONITOR)   keyboad  ที่ใช้ก็จะมีเฉพาะตัวเลข (Numeric keyboard)  รวมทั้งต้องใช้เครื่องช่างน้ำหนัก   ป้ายแสดงจำนวนเงิน  เครื่องลงเวลา (Access Control and Time)  ลิ้นชักควบคุม(Cash Drawer)  เครื่องรูดบัตรชนิดต่าง ๆ  เป็นต้น

 Bar Codes   Readers

เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (Bar Code Readers)  เป็นอุปกรณ์ที่นํามาใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในการประยุกต์ใช้งานทางด้านธุรกิจ  เช่น  อ่านป้ายบอกราคาสินค้า เพื่อสะดวกในการคำนวณจำนวนเงิน และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้  รหัส Bar code ที่ใช้ในทางธุรกิจ เราเรียกว่า Universal Product Code (UPC)  โดยจะมีขีดสัญลักษณ์ในแนวตั้งขีดเรียงกัน (Bar code)   สัญลักษณ์นั้นแทนด้วยแถบสีขาวและดำที่มีความกว้างแทนค่าเป็น 1  และแคบแทนค่าเป็น   0  การอ่านข้อมูลนั้นพื้นที่ภายในแถบและช่องว่างจะทำให้เกิดความแตกต่างของการสะท้อนกลับ         

 ประเภทของเครื่องอ่าน Bar Code
       Hand  held  scaner  :  การใช้งานนั้นจะลากอุปกรณ์ผ่านรหัส Bar code  เครื่องจะทํา
การวิเคราะห์แสงที่ผ่านแท่งดําๆ ของรหัส  ว่าข้อมูลที่อ่านไว้เป็นรหัสอะไรและนําไปเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมที่คอมพิวเตอร์บันทึกเอาไว้ มีขนาดเครื่องเล็กและความแม่นยำต่ำ
               
       Cash Register  scaner :  มักพบเห็นในห้างสรรพสินค้า หรืองานที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป  เช่น ใช้อ่าน Bar Code ของสินค้าหรือใช้อ่านรหัสบัตร

 Optical Mark Readers (OMR)  

       เครื่องอ่านข้อมูลด้วยแสง (Optical Mark Readers)     เช่น  การอ่านข้อมูลบัตร Credit  หรือตรวจกระดาษคำตอบปรนัย   โดยจะบันทึกสัญลักษณ์หรือคำตอบเอาไว้ในคอมพิวเตอร์  และอาศัยการอ่านข้อมูลจากเครื่อง OMR เข้าไปเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ที่บันทึกเอาไว้

Optical Character Recognition (OCR) 
เป็นซอฟต์แวร์ของ Scanner แบบตัวอักขระ (text)   ซึ่งเป็น  software  ที่ต้องจัดหาหรือซื้อเพิ่มเพื่อการใช้งาน

Magnetic  Ink  Character Recognition (MICR)
เครื่องอ่านหมึกแม่เหล็ก  (Magnetic  Ink  Character Recognition  : MICR) ใช้ในการประมวลผลหมายเลขรหัสเช็คของธนาคาร  โดยเครื่องจะอ่านหมึกแม่เหล็กที่เป็นตัวเลข และสัญลักษณ์ ที่พิมพ์ลงบนเช็ค    ใช้ตรวจสอบการลายเซ็น   หรือการมอบอำนาจในการสั่งจ่ายเช็ค

 Smart Cards Reader
เครื่องอ่าานบัตร Smart Cards  ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์  ในบัตร Smart card ประกอบด้วยไมโครชิพ   ที่สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์   มีหน่วยความจําเก็บข้อมูลได้โดยไม่สูญหายไม้ไฟฟ้าดับ   การใช้บัตรจะต้องสอดบัตรเข้าไปให้เครื่องอ่านบัตร และป้อนรหัสผ่านจากคีย์บอร์ด บัตรจะมีหน่วยความจําและไมโครชิพจะเก็บเรคคอร์ดไว้อย่างถาวร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อถูกใช้งาน   การใช้บัตรจะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลทรานเซคชั่น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรATM เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเรคเคอร์ดของลูกค้าธนาคาร

 
   Terminal
ประกอบด้วยจอภาพ  คีย์บอร์ด และอุปกรณ์ในการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูล  เป็นอุปกรณ์ปลายทางที่เชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์หลัก ใช้สําหรับบันทึกข้อมูลและการสืบคืนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หลัก   จำแนก Termianl  ได้ 3 ประเภทดังนี้

1. Dumb terminal  ทําหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เพียงอย่างเดียว


2. Smart terminal มีขีดความสามารถสูงกว่าชนิดแรก ทําหน้าที่รับส่งข้อมูลและสามารถแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดได้
            
            3. Intelligent terminal เป็นการนําไมโครคอมพิวเตอร์  มาเป็นเครื่องเทอร์มินอล   มีการรับส่ง  แก้ไขข้อมูลได้  และยังสามารถประมวลผลด้วยตัวเองได้   มีขีดความสามารถสูงสุด

Voice Input  Device
รับเสียงพูดของ  User ส่งเข้าไปใน computer    อุปกรณ์จะจดจำเสียง และแปลงเสียงพูดนั้นเป็นข้อมูล  binary   โดยอาศัยระบบรู้จำเสียง (Voice Recognition System)   ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงพูดให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยการเปรียบเทียบรูปคลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่เปลี่ยนมาจากเสียงพูด กับรูปแบบของสัญญาณเสียงที่กําหนดไว้ ถ้าเหมือนกัน (Matching) คอมพิวเตอร์ก็จะยอมรับสัญญาณเสียงนั้น   ส่วนใหญ่แล้วเสียงที่ส่งเข้าไปนั้นจะขึ้นอยู่กับ User ว่าจะพูดอะไร  ระบบจะ เรียนรู้เสียงของ User   เอง  ประเภทของระบบเสียงมี 2 แบบ คือ ระบบคำไม่ต่อเนื่อง   จะมีการแบ่งคำของ user  และระบบคำแบบต่อเนื่อง  โดย  User สามารถพูดได้เป็นปกติ
 


Digital Camera

ใช้ถ่ายภาพและจัดเก็บข้อมูลบน  Chip    ภาพเก็บภาพลงในคอมพิวเตอร์  และแก้ไขภาพด้วย software   รวมถึงเก็บภาพไว้ในสื่อ CDs  หรือ  DVDs    ภาพจะมีความละเอียดหลายล้าน pixels   จัดเก็บและลบทิ้งจาก memory card ได้

การทำงานของ Digital Camera   จะมีรูรับแสงเปิดออก ภาพจะถูก Focus  ผ่านเลนส์  และกระทบลงบนส่วนรับภาพที่เรียกว่า  CCD      CCD จะแปลงภาพที่ได้เป็นสัญญาณอนาล๊อก (Sign Analog)  เพื่อนำไป  ผ่าน ADC  ซึ่งจะแปลงสัญญาณกลับเป็น Digital สามารถนำเข้าคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้งานในประโยชน์อื่น ๆ  

 Video Input Device

      จะประกอบด้วย ลำดับของเฟรม (Frames) ภาพนิ่งหลายเฟรม  มีการสลับเฟรมเพื่อแสดงผลได้อย่างรวดเร็วพอที่จะหลอกตาคนดูได้ว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพเคลื่อนไหว   ในการเปลี่ยนเฟรมหรือเคลื่อนที่ของภาพจะเร็วจนเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง

2.อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)


Output:  คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor)  และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล   ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน  ได้แก่  Monitor  และ  Printer

Screen (monitor)  
             สามารถแสดงผลข้อความ (Text)   ตัวเลข (Number)  รูปภาพ (Image)  เสียง (Sound) และ VDO  แสดงผลในรูปแบบของสีหรือขาวดำ  การแสดงผลทาง  Screen output จะเรียกว่า  soft copy  สัมผัสไม่ได้และแสดงผลชั่วคราว  จอภาพที่ใช้ทั่วไปได้แก่ 
Cathode ray tube (CRT) 
             แสดงผลข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics)   ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นสี   ส่วนจอ  monochrome จะแสดงผลเป็นสีเดียว (ขาว-ดำใช้  Graphics card ในการแปลงสัญญาณจากหน่วยควบคุมไปเป็นภาพให้  user  มองเห็น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพ
1.  Scan rate อัตราความถี่ในการ refresh  ภาพ  ซึ่งอัตราการ Refresh บนหน้าจอ (Refresh Rate)
จะใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz) คือ รอบต่อวินาที (cycles per second)  ซึ่งโดยปกติจอภาพจะมีการ Refresh   72 Hz / วินาที
2.  Resolution  : ความละเอียดของจอภาพ  ซึ่งปกติจะใช้หน่วยวัดเป็น  pixels (จำนวนจุดในการ
เกิดภาพ)  ถ้ามีจำนวน  pixels มากก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลสูง แต่ละ pixels บรรจุเม็ดสี 3 สี คือ แดง (Red)   เขียว (Green)   น้ำเงิน (Blue)  ซึ่งจอภาพมาตรฐานที่ใช้แสดงผลภาพกราฟิก (Graphics standards)  มี 2 แบ[
    - จอภาพ VGA (Video Graphics Array)  แสดงผล 256 สี (Color)ส่วนมากจะใช้ค่า
ความละเอียดบนหน้าจอ  640*480   มีความละเอียดน้อยกว่าจอภาพแบบ SVGA
 - จอภาพ  Super VGA  (SVGA: Super Video Graphics Array)  แสดงผล 16 ล้านสี
(Color) ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ 800 * 600 [ (horizontal) * (vertical) pixels ]  หรือ 1024*768 หรือสูงกว่า   SVGA  ดีกว่าและได้รับความนิยมมากกว่า  VGA
3. Dot pitch :  คือจุดที่ประกอบกันเป็น Pixel  ซึ่งแต่ละ Pixel ประกอบด้วยจุด 3 จุด(three dots)
ได้แก่ (red, green, blue)  แต่ละ dot pitch มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 28 มิลลิเมตร (millimeter)   dot pitch  จะเล็กมากและทำให้ภาพมีความคมชัf
 4. RAM-Card  memory  : หน่วยความจำ RAM สำหรับการ์ดจอ  ถ้ามี RAM-Card มาก (high-
speed)  ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาพที่แสดง
                                                
 ขนาดของจอภาพ (Monitor Size)
การวัดขนาดของหน้าจอนั้น จะวัดเป็นนิ้ว (Inches)  ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 2 ขนาดได้แก่ 15
(พื้นที่แสดงภาพ 13”) และขนาด 17” (พื้นที่แสดงภาพ 15”)  โดยวัดตามมุมทแยงของจอ   จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย  และความละเอียดบนหน้าจอขนาด 17”  มักเซตค่าความละเอียด  ตั้งแต่ 640*480  ถึง  1280*1024
Flat-panel screen
      Liquid crystal display (LCD)  ใช้ครั้งแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์  Laptops  ต่อมานำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computers)    มีขนาดบางมาก (หนาประมาณ 1 นิ้วกว่าเท่านั้น)   ทำให้เกิดความคมกริดของภาพ (Images)  และข้อความ (Text)  มากกว่าจอ  CRTs  มองภาพได้สบายตากว่าจอ CRTs  
Smart displays 
     ใช้หลักการพื้นฐานของ  Flat-panel technology  โดยมี processor  ของตนเองใช้ Wireless เป็นตัวรับ-ส่ง สัญญาณ  โดยที่จอภาพอัจฉริยะ (Smart Displays) เป็นจอคอมพิวเตอร์พกพาที่เชื่อมต่อกับพีซีได้โดยไม่ต้องใช้สาย สามารถเข้าถึงอีเมล์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้จากทุกที่ในบ้าน จุดที่น่าสนใจคือ สามารถใช้คุณสมบัติพีซีได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องอาศัยสาย แต่คำเตือน คือ ไม่ควรอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากจะขาดการติดต่อกับพีซีได้ง่าย ปัจจุบันมีให้เลือกไม่กี่รุ่น และราคาก็ยังแพงอยู่ เริ่มต้นที่ 42,957 บาท และอาจสูงถึง 64,457 บาท ในบางรุ่น ซึ่งด้วยจำนวนเงินดังกล่าว สามารถซื้อแล็บท็อประดับดีเยี่ยมได้หนึ่งเครื่อง ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า พร้อมกับมีการปรับปรุงลักษณะของภาพบนจอให้ดียิ่งขึ้น  
Printer 
      ใช้เมื่อต้องการแสดงผลในรูปของกระดาษ งานที่ Print ออกมาทางกระดาษจะเรียกว่า  “hard copy”  และสามารถกำหนดแนวของกระดาษได้ 2 แนวคือ  กระดาษแนวตั้ง (Portrait)  และกระดาษแนวนอน (Landscape)  สามารถจำแนกเครื่อง printer มี 2 ประเภท ได้แก่

1. Impact printer

2. None-impact printer

Impact Printers

                สร้างภาพออกทางกระดาษ  โดยมีการกระทบหัวเข็มหรือสัมผัสลงบนกระดาษ  มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mainframe Computers ที่มีการ Print  รายงานที่มีความยาวมาก ๆ โดยใช้กระดาษต่อเนื่อง  หรือใช้กับการ Print กระดาษต่อเนื่องที่ต้องการหลาย ๆ Copy   เครื่อง printer ที่จัดอยู่ในประเภทของ Impact Printer ได้แก่  Dot-matrix printer 

Dot-matrix printer

ใช้การกระทบของหัวเข็ม  ตัวอักษรและภาพเกิดจากการ plot จุดเกิดเป็นเส้น (line)  ให้เห็นเป็นภาพ

ารวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Dot Matrix (Dot Matrix Printers – Performance) 
1.ความละเอียด (Resolution) : เครื่องพิมพ์ Dot Matrix  มีคุณภาพและความละเอียดในงานพิมพ์ต่ำกว่า
เครื่องชนิดอื่น  ซึ่งในอดีต Dot Matrix  จะมีหัวเข็ม (pin)  9 หัวเข็ม  เนื่องจากหัวเข็มที่น้อย และพิมพ์งานตามลำดับ ทำให้มีความเร็วและความละเอียดต่ำ   แต่ถ้าเป็น Dot Matrix  ที่มี 24 หัวเข็ม จะมีคุณภาพและความละเอียดดีกว่า
2.ความเร็ว (Speed) : วัดความเร็วเป็นตัวอักษรต่อวินาที (characters per second :cps) ซึ่งโดยปกติจะมี
ความเร็วอยู่ที  500 cps

None-impact Printers

เป็นเครื่องพิมพ์ที่ Print ภาพออกทางกระดาษโดยไม่ใช้การกระทบของหัวเข็ม   เครื่อง Print ที่รู้จักกันดีคือ  Laser printer และ Ink-jet printe

 Ink-jet printer 

ทำงานโดยใช้การพ่นหมึกลงบนกระดาษ    สามารถ  Print  ได้ทั้งภาพขาว-ดำ

และสีมีคุณภาพสูงและหมึกไม่เลอะ  ราคาเครื่องถูกว่า laser printers  แต่ความคมชัดหรือประณีตของตัวอักษรก็ด้อยกว่า Laser  printer

  การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Ink Jet (Ink Jet Printers – Performance)
1. ความเร็ว (Speed) : ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Ink jet จะวัดเป็นหน้าต่อนาที(pages per minute : ppm) 2 – 4  ppm
2.ความละเอียด (Resolution) : ความละเอียดในการพิมพ์จะวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dots per inch :dpi)โดยปกติจะอยู่ที่  300 – 600 dpi ซึ่งถือว่าคุณภาพต่ำกว่าเครื่อง Laser printer
3. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ
4. ราคาของตัวเครื่อง (Price) : ถ้าเปรียบเทียบด้านราคาแล้วจะมีราคาถูกกว่าเครื่อง Laser  printer รวมถึงค่าใช้จ่ายในการใช้งานถูกกว่าด้วย (low operating costs)

Laser printer

เป็นเครื่อง Print  ที่ไม่มีการสัมผัสลงบนกระดาษ  การทำงานนั้นจะใช้การยิงลำแสงส่งผ่านภาพไปยัง กระดาษ  มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ink-jet printer



การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Laser (Laser Printers – Performance)
1.ความละเอียด (Resolutions) : เครื่อง Laser มีความละเอียดในการพิมพ์ ตั้งแต่  300 – 1200 dpi  หรือสูงกว่า
2. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ(Black-and-white) แต่ Laser ที่พิมพ์สีได้นั้นราคาเครื่องจะสูงกว่า Laser ทั่วไป และสามารถพิมพ์สีไดระหว่าง 4 – 16 ppm (Pages per minute)
3. คุณภาพในการพิมพ์ (quality )  : เครื่อง Laser มีคุณภาพในงานพิมพ์สูงกว่าเครื่อง ink jet printersแต่ราคาสูงกว่าด้วยทั้งในด้านตัวเครื่องและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน


Hand held printer
เป็นเครื่อง Print แบบพกพาได้  ส่วนมากใช้กับการ Print รูปขนาดเล็ก หมึกที่ใช้จะถูกออกแบบมาพิเศษ มีความสามารถในการทนน้ำได้ ตลับหมึกมีการแยกสีเฉพาะ 
 Voice Output Device
 อุปกรณ์แสดงผลเสียง(Voice Output Device)   จะใช้ตัวสังเคราะห์เสียง  (Voicesynthesizers)  เป็นตัวแปลงข้อมูลให้เป็นเสียง
         Music Output Device

    เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลสื่อ  Multimedia    เกม (games)  และ VDO  ซึ่งแสดงข้อมูลทั้งภาพและเสียง

โดยอาศัยลำโพงเป็นอุปกรณ์แสดงผลเสียง และหน้าจอคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลภาพ


ระบบเสียง (Sound Systems)
          เครื่อง PC  ที่ต้องการใช้งานร่วมกับสื่อ Multimedia  จำเป็นต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณเสียง (sound card)  ลำโพง (speakers) รวมถึง CD-ROM และ DVD drive  เพื่ออ่านข้อมูลออกจากแผ่น CD และ DVDsound card  จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล๊อก (analog) ซึ่งก็คือสัญญาณคลื่นเสียงนั่นเองแล้วก็แสดงผลออกทางลำโพง   นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ software  ช่วยในการแก้ไข ดัดแปลง สร้างหรือแต่งเสียงเพลงต่าง ๆ  ได้ตามต้องการ

3.อุปกรณ์ประมวลผล( Process Device )










ซีพียู ( CPU – Central Processing Unit ) ซี พียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU – Central Processing Unit )
 เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผลภายในคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่เปรียบเสมือนกับสมองของมนุษย์ที่ใช้ในการคิดวิเคราะห์เพื่อหา 
ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับพีซีจะเรียกกันว่า ไมโครโปรเซสเซอร์













หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู





ซีพียูทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูลที่ ได้รับจากอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า ( input device ) ตามคำสั่งต่าง ๆ
 ในโปรแกรมที่เตรียมไว้และส่งต่อไปยังส่วนการแสดงผลข้อมูล ( output device ) เพื่อให้สามารถเก็บหรืออ่านผลลัพธ์ได้
 ซีพียูยิ่งมีความเร็วมากเท่าใด ก็ยิ่งจะประมวลผลได้เร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งการออกแบบซีพียูรุ่นใหม่ ๆ ได้พัฒนาให้การทำงาน
ได้เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่าจะเร็วขึ้นอีก เรื่อย ๆ เพื่อให้ทันกับความต้องการของโปรแกรมสมัยใหม่ที่ซับซ้อน
และกินกำลังเครื่อง มากขึ้น ความเร็วของซีพียูจะถูกควบคุมโดยสัญญาณนาฬิกา ( system clock ) ซึ่งเป็นตัวให้จังหวะการ
ทำงานเหมือนกับจังหวะของการเล่นดนตรี หน่วยวัดความเร็วของสัญญาณนาฬิกาดังกล่าวเรียกว่า เฮิร์ตซ ( Hz - Hertz ) 
 ซึ่งเทียบเท่ากับ 1 ครั้งต่อวินาที โดยปกติแล้วซีพียูจะมีการทำงานที่เร็วมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่มของซีพียูและสถาปัตยกรรมที่
ออกแบบมาสำหรับแต่ละรุ่น หน่วยวัดความเร็วของซีพียูจะมีการทำงานที่เร็วมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นของซีพียูและสถาปัตยกรรม
ที่ออกแบบมาสำหรับแต่ละรุ่น หน่วยวัดความเร็วของซีพียูที่พบเห็นในปัจจุบัน เช่น
Megahertz หรือ MHz = 1 000 000 ครั้งต่อวินาที
Gigahertz หรือ GHz = 1 000 000 000 ครั้งต่อวินาที
สถาปัตยกรรมของซีพียู : RISC VS CISC
เท่าที่ผ่านมา สถาปัตยกรรมที่ใช้ในการออกแบบซีพียู มี 2 แนวทางกว้าง ๆ คือ
•  RISC (Reduced Instruction Set Computer) เป็น แนวทางที่พยายามปรับปรุงให้การทำงานเร็วขึ้น
 โดยปรับปรุงชุดคำสั่ง ( instruction set ) ของซีพียูไปในแนวทางที่ลดจำนวนคำสั่งต่าง ๆ ในชุด และความซับซ้อน
ของแต่ละคำสั่งลง เพื่อที่ว่าเมื่อคำสั่งเหล่านั้นเรียบง่าย ก็จะสามารถออกแบบวงจรให้ทำงานตามคำสั่งได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
 ส่งผลให้ความเร็วในการทำงานโดยรวมของซีพียูเพิ่มขึ้น และยังมีที่เหลือสำหรับทำวงจรอย่างอื่นในตัวซีพียู เช่น
 ทำที่พักข้อมูล ( cache ) ขนาดใหญ่ซึ่งจะช่วยให้ทำงานเร็วขึ้นอีกด้วย แต่เนื่องจากงานที่เข้ามาอาจมีรูปแบบต่าง ๆ
 กันหลากหลาย จึงต้องใช้เทคโนโลยีทางซอฟต์แวร์ คือ คอมไพเลอร์ ( compiler ) ร่วมกับวงจรสำหรับจัดรูปแบบคำสั่ง
ภายในซีพียู เพื่อช่วยในการแปลและดัดแปลงหรือจัดรูปแบบคำสั่งในโปรแกรมต่าง ๆ ที่จะนำมารันกับซีพียูดังกล่าวเสียใหม่
ให้เหมาะสมกับคำสั่งที่มีให้เลือกใช้ จำกัด ซีพียูที่ออกแบบตามแนวทางนี้ เช่น ซีพียู PowerPC ที่ใช้ในเครื่องเวิร์กสเตชั่น
 RISC/6000 ของไอบีเอ็ม และในเครื่องแมคอินทอช , ซีพียู SPARC ในเครื่องคอมพิวเตอร์แทบทุกรุ่นของบริษัทซัน
 ไมโครซิสเต็มส์ เป็นต้น
•  CISC (Complex Instruction Set Computer) เป็น แนวทางตรงข้ามกับ RISC โดยพยายามให้ชุดคำสั่งที่ซีพี
สามารถทำงานได้นั้นมีคำสั่งในรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกใช้มากมายหลายร้อยคำสั่ง เพื่อให้ครอบคลุมลักษณะงานที่แตกต่างกัน
 เรียกว่ามีงานแบบไหนมาก็มีคำสั่งสำหรับงานนั้น ๆ รองรับ โดยหวังว่าการมีเครื่องมือ (คำสั่ง) ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกรณีให้มา
กที่สุดจะทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น แต่มีข้อจำกัดคือวงจรภายในต้องมีความซับซ้อนและใช้เวลาในการทำงานแต่ละคำ
 สั่งนานกว่าแบบRISC รวมทั้งไม่มีที่เหลือสำหรับที่พักข้อมูลหรือ cache ขนาดใหญ่มากนัก ซีพียูที่ออกแบบตามแนวทางนี้ เช่น
 เพนเทียมรุ่นแรก ๆของบริษัทอินเทล รวมถึงซีพียูที่คอมแพทติเบิลกันจาก AMD และ Cyrix, ซีพียูตระกูล 68000 ของบริษัท
โมโตโรลา (ใช้ในเครื่องแมคอินทอชรุ่นเก่า ๆ) เป็นต้น ปัจจุบันแนวทางทั้งสองแนวทางเริ่มปรับเข้าหากัน คือ ไม่มีซีพียูใดเป็นแบบ
RISC หรือ CISC ล้วน ๆ แต่ออกแบบโดยรับเอาส่วนดีของแต่ละแนวทางเข้ามาปรับใช้ เช่นในซีพียูเพนเทียม
ก็มีการนำเอาการปรับรูปแบบคำสั่งให้ทำงานเร็วขึ้นตามแนวคิดของ RISC เข้าไปผสม ประกอบกับเทคโนโลยีการ
ผลิตที่ย่อวงจรได้เล็กลงไปอีกเรื่อย ๆ ทำให้มีเนื้อที่เหลือเพียงพอสำหรับสร้าง cache ขนาดใหญ่ขึ้นไว้ในซีพียูได้
ถึงแม้ว่าจะมีวงจรที่ซับซ้อน ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์นับร้อยล้านตัวแล้วก็ตาม ดังนั้นจึงไม่มีข้อสรุปว่าแนวทาง
ใดจะทำงานได้เร็วกว่ากัน แล้วแต่การออกแบบซีพียูแต่ละตัวและโปรแกรมที่นำมาใช้ 



 ที่มา 

www.no-poor.com

 www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/na41.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น